วัตถุประสงค์/พันธกิจ
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
"ขับเคลื่อนพัฒนาท้องถิ่นไทย มุ่งสู่ความยั่งยืน"
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.)
สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) มีพัฒนาการยาวนานกว่า 60 ปี ประสบการณ์และการเรียนรู้ รวมทั้งการยอมรับความเปลี่ยนแปลง ทำให้สมาคมฝ่าคลื่นลม ปัญหาอุปสรรคหลากหลายมาได้อย่างมั่นคง ถ้าเป็นต้นไม้อาจโยกคลอนด้วยแรงลมบ้างบางช่วงตอนแต่เพราะรากเหง้าที่หยั่งลึก ประกอบกับการดูแลเอาใจใส่ จึงสามารถประคองต้นชูกิ่งใบ ผลิดอกออกผล ยังประโยชน์แก่คนรุ่นหลังอย่างคนที่มีเรื่องเล่า (Story) ให้คำนึงถึงรากเหง้าที่ผ่านมา เพื่อที่จะก้าวสู่อนาคตที่ดีต่อไป
1. กำเนิดการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย
สมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูประบบการบริหารงานแผ่นดินเพื่อให้ทัดเทียวกับประเทศตะวันตกที่กำลังแผ่อิทธิพลเข้ามา โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) ต่อมาวันที่ 18 มีนาคม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2554) จัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมจังหวัดสมุทรสาคร หลังจากนั้นมีการตราพระราชบัญญัติจัดสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.ศ. 127
สมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้มีการปลูกฝังให้ประชาชนเรียนรู้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยจึงทรงจัดตั้ง “ดุสิตธานี”
สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงมีพระราชประสงค์ให้เตรียมการร่างกฎหมายเทศบาล แต่เกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อนเมื่อปี พ.ศ. 2475
2. จุดเริ่มจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลได้ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินกำหนดให้มีราชการบริหารส่วนท้องถิ่นที่แท้จริง คือ เทศบาล ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2476 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 เทศบาลจึงได้ถือกำเนินในปี พ.ศ. 2478 โดยประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาล (ตามด้วยชื่อเทศบาล) พ.ศ. 2478 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการและมีผลตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา ดังนั้น เทศบาลจึงคงอยู่ภายใต้การกำกับดูแล (สมัยนั้นอาจใช้คำว่าควบคุม) ของกระทรงมหาดไทย รุ่นแรกจัดตั้งได้ 48 เทศบาล (ยกฐานะจากสุขาภิบาล 35 แห่ง) แต่ละปีจัดตั้ง เทศบาลเพิ่มขึ้นกระทั่งปี พ.ศ. 2489 มีเทศบาลทั้งสิ้น 117 เทศบาลช่วงแรกๆ ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เพราะพื้นที่มีความเจริญแตกต่าง กฎหมายจำกัดภารกิจ ประชาชนยังไม่เข้าใจ รัฐบาลควบคุมใกล้ชิดเกินไปกระทั่งประกาศใช้พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (เป็นกฎหมายแม่บทที่ใช้มาถึงปัจจุบัน) แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ.2552
3. จุดกำเนินการก่อตั้ง
เมื่อปี พ.ศ. 2501 มีเทศบาล 124 แห่ง เป็นเทศบาลนคร 3 แห่ง คือ เทศบาลนครกรุงเทพ, เทศบาลนครธนบุรี และ เทศบาลนครเชียงใหม่ แกนนำทั้งหลายมีความคิดสอดคล้องกันว่า ตลอดเวลายาวนานถึง 24 ปีการปกครองท้องถิ่นของประเทศไทยในระบบเทศบาล มิได้เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร การบริหารงานประสบอุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ มากมาย แม้รัฐบาล และกระทรวงมหาดไทยได้พยายามหาทางแก้ไขก็มิอาจลุล่วงได้ กระทรวงมหาดไทยจึงดำริให้มีการจัดตั้งสมาคมเทศบาล เพื่อให้มีศูนย์กลางสำหรับการดำเนินการแก้ไขอุปสรรคและข้อขัดข้องต่างๆ
4. ที่มาของการก่อตั้ง
ปี พ.ศ. 2502 สหพันธ์เทศบาลนานาชาติ (International Union of Local Authorities : IULA) จัดประชุมใหญ่ครั้งที่ 14 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ในเดือนมิถุนายน 2502 และได้เชิญประเทศไทยให้ส่งผู้แทนไปร่วมประชุมด้วย กระทรวงมหาดไทยมอบให้นายชำนาญ ยุวบูรณ์ อธิบดีกรมการปกครองซึ่งดำรงตำแหน่งนายบกเทศมนตรีนครกรุงเทพด้วย เป็นหัวหน้าคณะนำคนเทศบาลไปประชุมตามคำเชิญ การไปครั้งนั้นทำให้ผู้แทนประเทศไทยได้เรียนรู้หลายเรื่องราว และประจักษ์ชัดว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นในต่างประเทศได้ก่อตั้งสมาคมมานานกระทั่งรวมตัวกันเป็นระดับนานาชาติเป็นการทำงานในระดับโลก สมาคมมีความแข็งแกร่ง เป็นต้นแบบของการพัฒนาการบริหารงาน การร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยสมาคมเป็นหลัก สอดคล้องกับแนวคิดของกระทรวงมหาดไทยดังนั้น จึงได้พิจารณาจัดจั้งสมาคมเทศบาลเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเรียกชื่อว่า สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) ชื่อภาษาอังกฤษ คือ National Municipal League of Thailand (N.M.T.)
หลังจากผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการก่อตั้งสมาคม คือ นายสาย หุตะเจริญ รองอธิบดีกรมมหาดไทย นางนันทกา สุประภาตะนันทน์ รองปลัดเทศบาลนครกรุงเทพ และนายไถง สุวรรณทัต นายกเทศมนตรีนครธนบุรี รวบรวมความคิดเห็นจากเทศบาลทั่วประเทศ ได้ยกร่างข้อบังคับเครื่องหมาย และธงเรียบร้อยแล้ว จึงนำเสนอที่ประชุม ในการประชุมนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล และผู้ตรวจการเทศบาลทั่วประเทศ ณ ศาลาสันติธรรม จังหวัดพระนคร เมื่อเดือนตุลาคม 2502 เพื่อขอความเห็นชอบการจัดตั้งสมาคมและข้อบังคับสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย กับทั้งเลือกคณะกรรมาธิการบริหารชุดแรก (เริ่มการ) จำนวน 9 คน ประกอบด้วย
1. นายชำนาญ ยุวบูรณ์ นายกเทศมนตรีนครกรุงเทพ นายก ส.ท.ท.
2. นายใหญ่ ศวิตชาต นายกเทศมนตรีเมืองนครสวรรค์ อุปนายก
3. นายสาย หุตะเจริญ รองอธิบดีกรมมหาดไทย กรรมาธิการ
4. นางนันทกา สุประภาตะนันท์ รองปลัดเทศบาลนครกรุงเทพ กรรมาธิการ
5. นางไถง สุวรรณทัต นายกเทศมนตรีนครธนบุรี กรรมาธิการ
6. นายเรือง นิมมานเหมินทร์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กรรมาธิการ
7. นายไสว สวัสดิสาร นายกเทศมนตรีเมืองนครศรีธรรมราช กรรมาธิการ
8. นายประคอง เทวารุธ นายกเทศมนตรีตำบลบางคล้า กรรมาธิการ
9. นายอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล ผู้อำนวยการส่วนการปกครองท้องถิ่น เลขาธิการ
5. การก่อตั้งสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
เพื่อให้สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีอำนาจในการดำเนินการได้ตามกฎหมาย นายกสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย จึงได้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนต่อกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2502 โดยยื่นหลักฐานมีข้อบังคับและวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งไปประกอบการพิจารณากระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาอนุญาตให้จัดตั้งได้เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2503 และจดทะเบียนมีฐานะเป็นสมาคมตามทะเบียนหมายเลขที่ จ.643 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2503
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
วัตถุประสงค์
ข้อ ๘ สมาคมสันนิบาตเทศบาลมีหน้าที่หลัก ๘ ประการ คือ
(๑) ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่างเทศบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นๆ ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมสันนิบาตเทศบาล
(๒) ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่างเทศบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นๆ องค์กรชุมชน องค์กรภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ กระทรวง ทบวง กรม สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และองค์กรมหาชน
(๓) ส่งเสริมความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีระหว่างเทศบาลในประเทศไทยกับองค์กรปกครองท้องถิ่น และสมาคมองค์กรปกครองท้องถิ่นในต่างประเทศ
(๔) ส่งเสริมการพัฒนาระบบการเมืองท้องถิ่นของเทศบาล
(๕) ส่งเสริมการวิจัย และการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ และการจัดบริการสาธารณะของเทศบาล การฝึกอบรม การอบรม การประชุมทางวิชาการหรือเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาทางวิชาการ หรือเชิงปฏิบัติการ การบรรยายพิเศษ การฝึกศึกษา การฝึกงาน การดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
(๖) ส่งเสริมและจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของ คณะกรรมการบริหารของสมาคม กรรมาธิการและคณะอนุกรรมาธิการด้านต่าง ๆ ให้มีความรู้เกี่ยวกับการบริหารและเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยจัดให้มีการศึกษาดูงานต่างประเทศของคณะต่าง ๆ
(๗) เป็นองค์กรตัวแทนของเทศบาลทั่วประเทศ ในการดาเนินกิจกรรมทางการเมืองร่วมกับรัฐบาล รัฐสภา และองค์กรทางการเมืองในระดับชาติ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการกาหนดนโยบายการออกกฎหมาย ระเบียบ ฯลฯ ว่าด้วยการกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(๘) ดาเนินกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ หรือเป็นรายได้ของสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
ขนาดผืนธง : กว้าง ๒ ส่วน ยาว ๓ ส่วน
ตราสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) อยู่กึ่งกลางธง พื้นสีขาว ลายปักด้วยดิ้นทอง เส้นผ่าศูนย์กลางของดวงตราเท่ากับ ๑ ส่วน ของธง รอบดวงตรามีเข็มทิศ ๘ ทิศ ระยะห่างระหว่างเส้นขอบดวงตราถึงเส้นขอบ เข็มทิศกว้างเท่ากับ ๑/๑๖ ของ ๑ ส่วนของธง
สีขาว : การส่งเสริมกิจการอันเป็นสาธารณสุขทั่วประเทศ
สีแดง : ชาติ คือ ทำงานเพื่อประเทศชาติ
สีน้ำเงิน : ความหนักแน่นเป็นปึกแผ่น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน